ภาษี น้ำหอม

ภาษี น้ำหอม

ภาษีศุลกากร หรือ Customs Duty เป็นภาษีชนิดที่เรียกว่า กำแพงภาษี
หรือ Tariff Barrier คือเป็นภาษีที่ไม่เกิดจากการมีรายได้เพิ่มขึ้น
แต่เป็นภาษีที่สกัดกั้นการไหลบ่าของสินค้าจากต่างประเทศ
ที่จะเข้ามาภายในประเทศ ทั้งนี้ เพื่อปกป้องสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ
ไม่ให้ถูกโจมตีจากสินค้าต่างประเทศที่มีคุณภาพดีกว่าแต่ราคาย่อมเยากว่าฉะนั้น
ภาษีศุลกากรของสินค้าแต่ละตัวจึงมีอัตราที่ไม่เท่ากัน
สินค้าใดที่สามารถผลิตภายในประเทศได้ อัตราภาษีขาเข้าของสินค้าชนิดนั้นจะสูง
เพราะเราไม่ได้ต้องการที่จะให้ใครนำสินค้าชนิดนั้นมาขายแข่งกับเรา
เช่น เสื้อผ้า เป็นต้น ที่จะมีอัตราอากรตั้งแต่ 30-60% ส่วนสินค้าที่เราผลิตเองไม่ได้
หรือต้องการนำเข้า จะมีอัตราที่ต่ำ เช่น เครื่องจักรโรงงาน เป็นต้น
มีอัตราอากรตั้งแต่ 0-5% นอกจากนี้ ยังมีเหตุผลอื่นๆ ที่ทำให้ภาษีศุลกากรแตกต่างกันไป
เช่น สินค้าที่ส่งเสริมการเรียนรู้หรือเทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ หนังสือ อัตรา 0%

สินค้าฟุ่มเฟือย เช่น น้ำหอม เครื่องสำอาง อัตรา 40%

สินค้าที่เป็นวัตถุดิบในการผลิต เช่น ไม้ หนังดิบ ไหม สารเคมี
อัตรา 0-5%กิจการภาษี หรือการศุลกากร มีมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย
เรียกว่า จกอบ โดยที่สมัยสุโขทัยนั้น การค้าขายเป็นปัจจัยสร้างความมั่งคั่งของรัฐ
และในช่วงระยะเวลาหนึ่งก็มีประกาศยกเว้นภาษี
แก่ผู้มาค้าขาย ดังความในศิลาจารึก ว่า "เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว
พ่อเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทางเพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า
ใครจักใคร่ค้าม้าค้า"ต่อมาสมัยกรุงศรีอยุธยา หน่วยงานที่ทำหน้าที่ด้านตรวจ
เก็บภาษีขาเข้าขาออกเฉพาะ เรียกว่า พระคลังสินค้า มีสถานที่สำหรับการภาษี
เรียกว่า ขนอน เก็บภาษีจากระวางบรรทุกสินค้าและจากสินค้า ครั้นสมัยกรุงธนบุรี
บ้านเมืองอยู่ในยุคสงคราม การค้าขายระหว่างประเทศ
ไม่ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากนัก
ล่วงถึงยุครัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 3 มีการประมูลผูกขาดการเรียกเก็บภาษีอากร
เรียกว่า ระบบเจ้าภาษีนายอากร ส่วนสถานที่เก็บภาษี เรียกว่า โรงภาษี
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 การติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้น
มีการทำสนธิสัญญาเบาริ่งที่เกี่ยวกับศุลกากร คือ ยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมปากเรือ
เปลี่ยนมาเป็นเก็บภาษีสินค้าขาเข้าที่เรียกว่า ภาษีร้อยชักสาม
ส่วนสินค้าขาออกให้เก็บตามที่ระบุในท้ายสัญญาเป็นชนิดไป
ทั้งมีการตั้งโรงภาษี เรียกว่า ศุลกสถาน (Customs House)
ขึ้นเป็นที่ทำการศุลกากรยุคใหม่ของศุลกากรไทยเริ่มในพ.ศ.2417
เมื่อรัชกาลที่ 5 ทรงจัดตั้ง หอรัษฎากรพิพัฒน์
เป็นสำนักงานกลางในการรวบรวมรายได้ของแผ่นดิน
งานศุลกากรซึ่งทำหน้าที่จัดเก็บภาษีขาเข้าขาออกเป็นรายได้ของรัฐ
อยู่ในความควบคุมดูแลของหอรัษฎากรพิพัฒน์
ส่งงานศุลกากรเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วตามความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง
และสถานการณ์โลก มีการสร้างอาคารที่ทำการใหม่ให้เหมาะสมขึ้น
แทนที่ทำการศุลกากรที่เรียกว่าศุลกสถานเดิมในปี 2497
คือสถานที่ตั้งกรมศุลกากรคลองเตยในปัจจุบันช่วงเวลาที่ผ่านมา
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะด้านการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งกรมศุลกากรมีภารกิจหลักคือจัดเก็บภาษีอากร
จากของที่นำเข้ามาในและส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
เพื่อนำไปพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และดูแล ป้องกัน ปราบปราม
การลักลอบหนีศุลกากรเพื่อให้การจัดเก็บภาษีอากรเป็นไปตามเป้าหมาย
และเกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการที่สุจริต

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น